การวางแผนครอบครัว

ขายยาสอด ไซโตเทค ไซโตล็อก

การวางแผนครอบครัว แต่ในมุมของคนทั่วไปนั้น มักคิดว่า เป็นเรื่องของการ “คุมกำเนิด” เพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว การวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่สมรสปรึกษาหารือกันวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูก ถ้าตกลงกันว่าจะไม่มีลูกหรือจะหยุดมีลูกแล้วจะคุมกำเนิดด้วยวิธีใด หรือถ้าอยากมีลูกแล้วพร้อมจะมีลูกกันได้เมื่อไหร่ จะมีลูกกันกี่คน และจะมีลูกห่างกันปีกี่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณและลูกน้อยที่เกิดมานั้นมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตดี อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ผู้เป็นพ่อแม่สามารถให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดูลูกน้อยจนเติบใหญ่มีอาชีพการงานที่มั่นคงได้ และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป

การวางแผนครอบครัว นั้นมีจุดสำคัญที่ต้องคิดไตร่ตร่องให้รอบคอบ 8 เรื่องด้วยกัน คือ

1.จุดเริ่มต้นของครอบครัว คู่รักจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนทางประเพณีที่เรียกว่า “การแต่งงาน” หรือไม่ผ่านก็ได้ แต่การแต่งงานหรือการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ดีนั้นควรจะเริ่มขึ้นเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีความพร้อมและตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ช่วยกันทำมาหากินหรือสร้างหลักฐานครอบครัว

2. หน้าที่และการปรับตัว ความรักเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จในชีวิตคู่ได้ เพราะมันยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างทั้ง การรู้จักเรียนรู้และยอมรับจุดอ่อนและจุดแข็งของกันและกัน, การมีความเข้าอกเข้าใจกัน การประนีประนอม และพร้อมที่จะให้อภัยกันและกัน รวมไปถึงการวางแผนล่วงหน้าทั้งด้านการงานและการเงินอย่างเหมาะสม สำรองค่าใช้จ่ายไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และเก็บออมไว้บ้างเพื่ออนาคต ฯลฯ ในระยะเริ่มแรกของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่คู่รักจะต้องปรับตัวเข้าหากัน ตกลงบทบาทหน้าที่กันภายในครอบครัวให้ชัดเจน และสามารถสลับบทบาทได้ยามจำเป็น

3. คิดให้ดีก่อนมีลูก ! ลองหยุดคิดและไตรตรองดูสักนิดว่าเรามีสิ่งต่อไปนี้แล้วหรือยัง ? อาทิ การมีหลักฐานที่มั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูลูกน้อย ตลอดจนพร้อมที่จะให้การศึกษาที่ดีแก่ลูกได้, การมีเวลาพอที่จะอบรมเลี้ยงดูน้อยด้วยความเอาใส่ใจใส่ เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนดี, การมีเวลาอยู่ด้วยกัน มีความเข้าใจกัน และถามฝ่ายหญิงว่าพร้อมที่จะมีลูกหรือยัง ซึ่งการมีลูกในขณะที่คู่สมรสยังไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ดีพอ ก็อาจทำให้ลูกน้อยที่เกิดมามีปัญหาสุขภาพจิตได้ ฯลฯ

4. การเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี คุณพ่อคุณแม่ที่มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ย่อมมีโอกาสคลอดลูกที่แข็งแรงและมีสุขภาพดีเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพของทั้งสองฝ่ายก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่อสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เพราะหากพบปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณหมอจะช่วยแก้ไขได้ทันท่วงทีหรือให้คำแนะนำได้ตามสมควร โรคประจำตัวบางโรคของคุณแม่นั้นก็มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างมาก และบางโรคอาจเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู โรคไต โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ฯลฯ สิ่งที่ควรทำอย่างแรกคือการไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอะไรจะได้แก้ไขกันตั้งแต่ต้น ส่วนอีกเรื่องที่ควรคำนึงถึงก็คือเรื่อง “น้ำหนักตัวของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์”ไม่ควรอ้วนหรือผอมมากเกินไป และควรอยู่ในวัยที่เหมาะสมสำหรับการมีลูก เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในวัย 35 ปีขึ้นไป จะค่อนข้างมีความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดลูกที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์

5.การเตรียมพร้อมทางด้านอาชีพและที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยเป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ และเป็นเรื่องที่ครอบครัวจะต้องตกลงกันก่อนแต่งงานว่าหลังจากแต่งแล้วจะแยกมาอยู่กันลำพังเพียง 2 คน หรือจะย้ายไปอยู่กับครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของทั้งสองฝ่าย ส่วนอาชีพการงานก่อนมีลูกก็ควรจะเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงพอประมาณ มีรายได้ที่แน่นอนและเพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูครอบครัว

6. การวางแผนมีบุตรและเว้นระยะการมีบุตร เป็นการวางแผนร่วมกันของทั้งคู่ว่าพร้อมจะมีบุตรหรือยัง จะเริ่มมีบุตรกันเมื่อไหร่ ต้องการบุตรกี่คน แล้วจะเว้นระยะห่างการมีบุตรนานแค่ไหน คำถามเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญที่ทั้งคู่ควรปรึกษาหารือและตกลงกันให้ชัดเจน ส่วนคุณแม่ที่อยากมีบุตรเพิ่มอีก ก็ควรจะเว้นช่วงการมีบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการฟื้นฟูสุขภาพของตนเองก่อนจะเริ่มตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และยังมีเวลาเลี้ยงลูกคนก่อนได้อย่างเต็มที่ด้วยรักและเอาใจใส่

7. เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี เพื่อให้ลูกได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ พ่อและแม่ควรตกลงพร้อมใจที่จะมีลูกด้วยกัน และให้ลูกเกิดมาพร้อมความรักของทั้งสองคน พ่อและแม่ต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่พร้อมจะเป็นพ่อคนแม่คน แสดงให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่รักเขามากขนาดไหน มีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี ฝึกลูกในทางที่เขาควรจะเป็น มีเวลาเพียงพอที่จะให้ความใกล้ชิดและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก รวมถึงการให้ลูกมีเวลาส่วนตัวบ้าง คอยเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการได้เสมอ และเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกที่พร้อมเผชิญปัญหาของลูกด้วยความเต็มใจ ฯลฯ

8.การคุมกำเนิด สำหรับคู่สมรสที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว การวางแผนคุมกำเนิดถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราสามารถเลือกมีลูกได้ตามความพร้อม หรือช่วยเว้นระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้เหมาะสม การคุมกำเนิดในปัจจุบันมีทั้งแบบถาวร คือ การทำหมันหญิง (การผูกและตัดท่อรังไข่) และการทำหมันชาย (การผูกและตัดท่อนำน้ำเชื้อ) และแบบชั่วคราวซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือน การฉีดยาคุมกำเนิด ใช้ยาฝังคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด วงแหวนคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ฯลฯ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เมื่อเราตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว หารือร่วมกันแล้ว สิ่งคัญที่จะทำให้ครอบครัวมีความรักความอบอุ่น คือ การให้อภัยกันเข้าอกเข้าใจกัน สิ่งต่างๆเหล่าจะช่วยให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นเป็นครอบครัวที่อบอุ่น และอย่าลืมว่า สังคมจะดีได้ ต้องเริ่มจากครอบครัว

เรียบเรียงโดย

สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ