การตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ คือ ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน
สภาวะที่เหมาะสมในการเริ่มตั้งครรภ์
1.ไข่ต้องสมบูรณ์
โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีไข่เดือนละ 1 ใบ อยู่ในรังไข่ข้างใดก็ได้ ประมาณกึ่งกลางรอบเดือนซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 14 หล้งจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก ไข่จะเคลื่อนที่เพื่อเตรียมผสม
2.อสุจิต้องแข็งแรงและมีปริมาณมากพอ
ทั้งนี้เพราะกว่าจะไปถึงไข่ อสุจิต้องผ่านสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ผ่านโพรงมดลูก ในระหว่างนี้อสุจิบางส่วนอาจวิ่งไปคนละทางกับเป้าหมาย ทำให้เหลืออสุจิรอดไปถึงไข่ได้ไม่มาก สุดท้ายอสุจิที่หาไข่เจอจะต้องมีความสามารถในการเจาะไข่เพื่อผสมได้ด้วย จึงจะเกิดการตั้งครรภ์ โดยปกติไข่1ใบจะผสมกับอสุจิได้เพียง1ตัวเท่านั้น
อาการของการตั้งครรภ์
เมื่อมารดามีการตั้งครรภ์จะมีเริ่มมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้เช่น การขาดประจำเดือน, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของมารดา ถ้ามีความวิตกกังวลก็อาจทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้
จะได้รู้ได้อย่างไรว่ากำลังตั้งครรภ์
หากกำลังสงสัยหรือมีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมีอาการที่น่าสงสัยดังที่กล่าวมาด้านบน คุณสามารถตรวจทดสอบการตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์ขายอยู่ ท่านสามารถซื้อหามาตรวจได้ด้วยตัวเอง
ที่ตรวจครรภ์จะมีทั้งหมด 3 แบบ แบ่งตามลักษณะของการนำชุดตรวจครรภ์ไปใช้ดังนี้
1. ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Cassette)แบบนี้ต้องวิธีการใช้งานคือ ต้องนำปัสสาวะใส่ภาชนะแล้วนำชุดตรวจที่มีลักษณะเป็นแถบกระดาษจุ่มลงไป
2. ที่ตรวจครรภ์แบบหยด (Midstream)
แบบที่สองนี้จะมีวิธีการใช้ โดยการ นำปัสสาวะใส่ภาชนะเช่นกัน แต่จะมีหลอดดูดปัสสาวะ เพื่อนำมาหยดใส่ที่ตรวจครรภ์อีกครั้งหนึ่ง
3. ที่ตรวจครรภ์แบบผ่าน (Strip)
แบบสุดท้ายนี้เป็นแบบที่เรานำที่ตรวจครรภ์ไปจ่อให้ตรงกับปัสสาวะที่เราบ่อยออกมาได้เลยคำแนะนำสำหรับคุณแม่คนใหม่
เมื่อคุณสุภาพสตรีทราบแน่ชัดว่ามีการตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที่ เพื่อให้แพทย์ดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ตลอดระยะเวลา การตั้งครรภ์รวมทั้งจะได้เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหรือความผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้คุณแม่สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
การปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์
อาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะอาหารและทุกสิ่งที่คุณแม่รับประทานจะมีผลต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ อาหารที่ควรรับประทานได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ ผักใบเขียว ผลไม้ รวมทั้งยา วิตามินที่ได้รับจากการฝากครรภ์
อาหารที่ไม่ควรรับประทาน
ได้แก่ อาหารเผ็ดจัด เค็มจัด อาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ ของหมักดอง ผงชูรส ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่
การขับถ่าย
หญิงตั้งครรภ์มักจะมีปัญหาท้องผูก ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ถ้าท้องผูกมาก ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์
การพักผ่อน
ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และควรหาเวลาพักผ่อนบ้างในตอนกลางวัน ไม่ควรยกของหนักและยืนนาน ๆ
การออกกำลังกาย
จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี หญิงตั้งครรภ์สามารถทำงานบ้านได้ตามปกติ การเดินเล่นในที่อากาศปลอดโปร่ง บริหารกายด้วยท่าง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่ควรหักโหมจนเหนื่อยหรืออ่อนเพลียเกินไป
การดูแลสุขภาพฟัน
หญิงตั้งครรภ์มักมีปัญหาเหงือกอักเสบและฟันผุง่าย จึงควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ และพบทันตแพทย์อยู่เสมอเพื่อตรวจเช็คสุขภาพในช่องปาก
เสื้อผ้า
ควรใส่เสื้อผ้าที่หลวม ๆ เลือกใช้ยกทรงที่มีขนาดเหมาะสมใส่สบาย พยุงทรงได้ดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย
การมีเพศสัมพันธ์ควรงดในระยะใกล้คลอดหรือเมื่อมีอาการเลือดออก ในรายที่มีปัญหาอื่นควรปรึกษาแพทย์